การปกครองท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีรูปแบบของรัฐเป็นรัฐรวม (Compound
State) ประกอบด้วย 50 มลรัฐ มา
รวมตัวเป็นประเทศเดียวกันในรูปแบบของสหพันธรัฐ (Federation) แตกต่างจากฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่ง
มีรูปแบบของรัฐเป็นรัฐเดียว แม้ว่าสหรัฐอเมริกาได้นำพื้นฐานของการปกครองส่วนท้องถิ่นในระบบของ
แองโกล – แซกซอน ของอังกฤษมาใช้ อันเป็นไปตามหลักการปกครองตนเองของท้องถิ่น (Local Self
Government) ที่ทำให้แต่ละท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกามีความเป็นอิสระ มีลักษณะเฉพาะของตนเอง และ
มีความเป็นตัวของตัวเอง แต่ก็มีลักษณะและรายละเอียดต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกับอังกฤษค่อนข้าง
มากเลยทีเดียว
รวมตัวเป็นประเทศเดียวกันในรูปแบบของสหพันธรัฐ (Federation) แตกต่างจากฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่ง
มีรูปแบบของรัฐเป็นรัฐเดียว แม้ว่าสหรัฐอเมริกาได้นำพื้นฐานของการปกครองส่วนท้องถิ่นในระบบของ
แองโกล – แซกซอน ของอังกฤษมาใช้ อันเป็นไปตามหลักการปกครองตนเองของท้องถิ่น (Local Self
Government) ที่ทำให้แต่ละท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกามีความเป็นอิสระ มีลักษณะเฉพาะของตนเอง และ
มีความเป็นตัวของตัวเอง แต่ก็มีลักษณะและรายละเอียดต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกับอังกฤษค่อนข้าง
มากเลยทีเดียว
การจัดระบบการปกครองหรือระบบบริหารราชการแผ่นดินของสหรัฐอเมริกาจำแนกได้เป็น
3 ระดับ หรือ
แบ่งโครงสร้างออกเป็น 3 ส่วน (Three – Tier System) คือ ระดับชาติหรือระดับสหพันธรัฐหรือระบบ
บริหารราชการส่วนกลาง ระดับมลรัฐ ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างระดับชาติกับระดับท้องถิ่น แต่ไม่ใช่ระบบ
บริหารราชการส่วนภูมิภาคอย่างที่ใช้อยู่ในรัฐเดียวกันแบบฝรั่งเศส เพราะสหรัฐอเมริกามีการแบ่งแยก
ระหว่างระบบบริหารราชการส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นอย่างชัดเจน ไม่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง และ
ระดับล่างสุดคือ ระดับท้องถิ่นหรือระบบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นและมีรายละเอียดของการจัดระเบียบ
บริหารราชการแผ่นดินแต่ละระดับดังต่อไปนี้
แบ่งโครงสร้างออกเป็น 3 ส่วน (Three – Tier System) คือ ระดับชาติหรือระดับสหพันธรัฐหรือระบบ
บริหารราชการส่วนกลาง ระดับมลรัฐ ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างระดับชาติกับระดับท้องถิ่น แต่ไม่ใช่ระบบ
บริหารราชการส่วนภูมิภาคอย่างที่ใช้อยู่ในรัฐเดียวกันแบบฝรั่งเศส เพราะสหรัฐอเมริกามีการแบ่งแยก
ระหว่างระบบบริหารราชการส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นอย่างชัดเจน ไม่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง และ
ระดับล่างสุดคือ ระดับท้องถิ่นหรือระบบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นและมีรายละเอียดของการจัดระเบียบ
บริหารราชการแผ่นดินแต่ละระดับดังต่อไปนี้
1. การบริหารราชการส่วนกลาง 2.การบริหารราชการระดับมลรัฐ 3.การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น 3.2. มิวนิซิปอล 3.3. ทาวน์และทาวน์ชิพ 3.4. สคูล ดิสทริคท์ 3.5. เขตพิเศษ 1. การบริหารราชการส่วนกลาง การบริหารงานในระดับชาติมีรัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลสหพันธรัฐทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการ ปกครองทั่วทั้งประเทศ ภายใต้รูปแบบหรือระบบประธานาธิบดี ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นแม่แบบของการ ปกครองรูปแบบนี้ โดยมีการจัดโครงสร้างความสัมพันธ์ของอำนาจในลักษณะที่มีการแบ่งแยกอำนาจ 3 ฝ่ายออกจากกันอย่างชัดเจนเด็ดขาด คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ รายละเอียดมีดังนี้
1.1 ประธานาธิบดี (President)
ประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและเป็นประมุขของประเทศ
มาจากการเลือกตั้งของ
ประชาชน ซึ่งมีลักษณะแต่งต่างจากรูปแบบรัฐสภาตรงที่มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำเดี่ยวแต่เพียงผู้เดียว ส่วนรัฐมนตรีแต่ละคนมีฐานะเป็นเพียงเลขานุการหรือผู้ช่วยของประธานาธิบดีเท่านั้น สังเกตจากคำ เรียกขานรัฐมนตรีว่า Secretary ไม่ใช่ Minister อย่างที่เรียกกันในรูปแบบรัฐสภา เช่น ตำแหน่งรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงต่างประเทศเรียกว่า Secretary of State เป็นต้น ความรับผิดชอบทางการเมืองทั้งปวงจึง อยู่ที่ตัวประธานาธิบดีแต่เพียงผู้เดียว ไม่ใช่การรับผิดชอบร่วมกันหรือเป็นองค์คณะอย่างที่เป็นอยู่ในรูป แบบรัฐสภา
1.2 รัฐมนตรี (Secretary)
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า รูปแบบประธานาธิบดี
อำนาจและความรับผิดชอบรวมศูนย์อยู่ที่ตัวประธานาธิบดี รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงมีสถานะเป็นเพียงเลขานุการ
(Secretary) หรือผู้ช่วยงานของ
ประธานาธิบดีประจำกระทรวงต่าง ๆ ที่ประธานาธิบดี
มอบหมายให้ไปดูแลเท่านั้น ระบบบริหารราชการส่วนกลางมีรัฐสภาหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
สภาคอง
เกรส (Congress) ประกอบด้วยสมาชิก 2 สภา คือ
1.สภาผู้แทนราษฎรหรือสภาล่าง และ 2. วุฒิสภาหรือสภาสูง ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของ
ประชาชนโดยตรงเช่นเดียวกัน และมีศาลสูง (Supreme Court) ทำหน้าที่ฝ่ายตุลาการในกรณีที่มีการ อุทธรณ์มาจากศาลอุทธรณ์
2. การบริหารราชการระดับมลรัฐ
มลรัฐ (State Government) ของสหรัฐอเมริกามีทั้งหมด 50 มลรัฐ ซึ่งแต่ละมลรัฐต่างก็มี
รัฐธรรมนูญของมลรัฐที่แตกต่างจากมลรัฐอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม รูปแบบการปกครองในมลรัฐจะแยก อำนาจในการปกครองออกเป็น 3 ฝ่ายเช่นเดียวกับการปกครองในระดับสหพันธรัฐหรือส่วนกลาง คือ
1.ฝ่ายบริหารนำโดยผู้ว่าการมลรัฐ (Governor)
ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
2.ฝ่ายนิติบัญญัติ ทำหน้าที่ในการออกกฎหมายต่าง ๆ ตลอดจนการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจของ
ฝ่ายบริหาร มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเช่นเดียวกัน
3.ฝ่ายตุลาการ ทำหน้าที่ในการตัดสินคดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในมลรัฐ
3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหรือการปกครองท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกามีรูปแบบที่แตกต่าง
หลากหลายมากเมื่อเทียบกับการปกครองท้องถิ่นในประเทศแถบยุโรป ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งมาจาก การที่สหรัฐอเมริกาเป็นรัฐรวมหรือสหพันธรัฐ ที่รัฐต่าง ๆ ทั้งหมด 50 รัฐมารวมตัวกัน แต่การมารวมตัว กันนั้น แต่ละรัฐยังคงมีความเป็นอิสระ มีความเป็นตัวของตัวเอง ของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของตน มีผล ทำให้ในแต่ละรัฐมีรูปแบบของการปกครองท้องถิ่นที่แตกต่างจากรัฐอื่น ๆ จนกล่าวได้ว่า การปกครอง ท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกาเป็นผลผลิตของรัฐบาล มลรัฐ กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้อง ถิ่นขึ้นอยู่กับแต่ละมลรัฐว่าเป็นอย่างไร ทำให้มลรัฐมีอำนาจในการกำหนดรูปแบบ ขอบเขตของอำนาจ หน้าที่ ตลอดจนการยุบเลิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รายละเอียดของการปกครองท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกามีดังนี้
3.1 เคาน์ตี้
(County) หมายถึง หน่วยการปกครองท้องถิ่นในระดับเคาน์ตี้
มีเกือบทุกมลรัฐ ยกเว้น
หลุยส์เซียนา(Louisana) ที่เรียกว่า แพริช (Parlish) และอลาสก้า (Alaska) ที่ใช้คำว่า เบอโร(Borough) เดิมทีเคาน์ตี้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นแขนขา หรือหน่วยงานที่สนับสนุนการทำงานของมลรัฐ แต่ในเวลาต่อมา ได้เปลี่ยนบทบาทกลายเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้บริการด้านต่างๆ แก่ท้องถิ่น การจัดตั้งเคา น์ตี้จึงมาจากการริเริ่มและความต้องการของมลรัฐ มากกว่าการเรียกร้องหรือความต้องการของ ประชาชน ขอบเขตอำนาจหน้าที่และการดำรงอยู่หรือยุบเลิกจึงขึ้นอยู่กับความต้องการของมลรัฐ อย่างไรก็ตามด้วยภารกิจที่มีเพิ่มมากขึ้นจาการถ่ายโอนมาจาก มิวนิซิปอล (Municipal) ซึ่งมีขนาดพื้นที่ เล็กกว่า ต้องการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่อย่างเคาน์ตี้รับผิดชอบงานที่มีขอบเขตกว้าง ขวาง จึงมีผลทำให้เคาน์ตี้ความสำคัญมาก ๆ ยิ่งขึ้น ปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีจำนวนเคาน์ตี้ทั้งหมด 3,077 แห่ง โดยเฉลี่ยมีเค้าน์ตี้ในแต่ละมลรัฐ 66 แห่ง รัฐที่มีเคาน์ตี้น้อยที่สุด คือ เดลาแวร์ (Dalaware) มีเพียง 3 แห่ง ส่วนรัฐที่มีเคาน์ตี้มากที่สุด คือ เท็กซัส (Texas) มีทั้งหมด 254 แห่ง ในแต่ละเคาน์ตี้จะมี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับรองลงมาคือ มิวนิซิปอล (Municiapal) และ ทาวน์ และทาวน์ชิพ (Town and Township) ขนาดของแต่ละเคาน์ตี้มีความแตกต่างกันมาก เคาน์ตี้ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดมี เนื้อที่กว่า 245,000 ตารางกิโลเมตร นอร์ท สโลป เบอโร (North Slope Borough) มลรัฐอลาสก้า ส่วน เค้าน์ตี้ที่มีพื้นที่ที่เล็ที่สุดมีเนื้อที่เพียง 34 ตารางกิโลเมตร คาลาวาว เคาน์ตี้ (Kalawao County) ใน มลรัฐฮาวายอิ (Hawaii) อำนาจหน้าที่ของแต่ละเคาน์ตี้แตกต่างกันไปในแต่ละมลรัฐ ขึ้นอยู่กับกฎหมาย ของแต่ละมลรัฐว่าเป็นอย่างไร แต่โดยหลักแล้ว หน้าที่ของเคาน์ตี้ได้แก่ งานด้านตุลาการ การรักษา ความปลอดภัย การจัดการเลือกตั้ง การกำจัดขยะมูลฝอย การสาธารณสุข ห้องสมุด การจัดวิทยาลัย ชุมชน การปกป้องคุ้มครองสภาวะแวดล้อม การจัดการองค์กรหรือรูปแบบการบริหารของเคาน์ตี้นั้น ปัจจุบันเกือบ 80% ของเคาน์ตี้ทั้งหมดใช้รูปแบบคณะกรรมการ (Board of Commission) ซึ่งใช้กันมา อย่างยาวนาน รูปแบบนี้ประชาชนจะเลือกตั้งคณะกรรมการ ซึ่งมีตั้งแต่ 2 คนจนถึง 100 คน ขึ้นอยู่กับ ขนาดของเค้าน์ตี้ คณะกรรมการนี้ทำหน้าที่ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร เป็นผู้พิจารณาออก กฎหมายอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี บริหารงานภายในเขตเคาน์ตี้ ตรวจสอบและควบคุมการ ทำงานของแผนกต่าง ๆ ตลอดจนมีอำนาจในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อประจำแผนกต่าง ๆ ของ เคาน์ตี้ ส่วนเคาน์ตี้ที่เหลือใช้รูปแบบการบริหารหลายรูปแบบ ซึ่งมาจากการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบ ดั้งเดิม ดังนี้
(1) รูปแบบเคาน์ตี้ – ผู้จัดการ (County – Manager Model) รูปแบบนี้คณะกรรมการคัดเลือกและ
แต่งตั้งผู้จัดการมืออาชีพให้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดที่คณะกรรมการระบุไว้ ผู้จัดการมีหน้าที่เตรียมร่าง งบประมาณ แต่งตั้งหัวหน้าแผนกเตรียมและนำเสนอนโยบายและโครงการ และบริหารงานประจำวัน รูป แบบนี้ใช้เคาน์ตี้ที่มีประชากรสูงถึง 1.7 ล้านคน เช่น แดด เคาน์ตี้ (Dad County) มลรัฐฟลอริด้า (Florida)
(2)
รูปแบบเค้าน์ตี้ – ผู้บริหาร (County –
Administrator Model) รูปแบบนี้ใช้ในเคาน์ตี้หลายแห่ง
มากกว่ารูปแบบแรก และมีความคล้ายคลึงรูปแบบแรก เว้นแต่ผู้บริหารไม่มีอำนาจแต่งตั้งและตรวจสอบ หัวหน้าแผนก
(3) รูปแบบสภา – ผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้ง (Council – Elected Executive
Model) รูปแบบนี้
ประชาชนเลือกตั้งทั้งสมาชิกสภาเคาน์ตี้และผู้บริหารของเคาน์ตี้แยกออกจากกัน ทำให้มีการแยกอำนาจ ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารออกจากกันเหมือนกับโครงสร้างของรัฐบาลและรัฐบาลกลาง
3.2 มิวนิซิปอล
(Municipal) มิวนิซิปอลในแต่ละแห่งมีโครงสร้างหรือรูปแบบที่แตกต่างกัน
สามารถแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบด้วยกัน รายละเอียดมีดังนี้
(1) รูปแบบนายกเทศมนตรีเข้มแข็ง (The
Strong Mayor Form) รูปแบบนี้จัดโครงสร้างเหมืนกับ
รัฐบาลกลาง โดยแบ่งแยกอำนาจชัดเจนระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง โดยตรงของประชาชนทั้ง 2 ฝ่าย ผู้นำฝ่ายบริหารคือ นายกเทศมนตรี (Mayor) แต่งตั้งและถอดถอนหัวหน้าแผนกต่าง ๆ เสนอแผนงบประมาณ นโยบายและแผนงาน ตลอดจนการ ตัดสินใจดำเนินงานต่าง ๆ โดยฝ่ายสภามีหน้าที่ในการพิจารณากฎหมาย ตรวจสอบและสอบสวนการ
ทำงานของแผนกต่าง ๆ
ตลอดจนการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร
(2) รูปแบบนายกรัฐมนตรีเข้มแข็งร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (The
Strong Mayor with Chief
Administrative or Chief Executive Office) รูปแบบนี้นายกเทศมนตรีได้รับความสนับสนุนและช่วย เหลือจาก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Chief Executive Office: CEO) ซึ่งมีอำนาจในการตรวจสอบการ ทำงานของหัวหน้าแผนกต่างๆ อย่างกว้างขวาง มีอำนาจหน้าที่ในการจัดเตรียมร่างงบประมาณ การ บริหารงานบุคคล
(3) รูปแบบนายกเทศมนตรีอ่อนแอ (The
Weak Mayor Form) รูปแบบนี้ประชาชนไม่เพียงเลือก
ตั้งสมาชิกสภาและนายกเทศมนตรีเท่านั้น แต่ยังเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในตำแหน่งหรือแผนกต่างๆ อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ทำให้นายกเทศมนตรีขาดอำนาจในการบริหารงาน สั่งการและควบคุมการทำงานของ เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ เนื่องจากถือว่ามีศักดิ์ศรีไม่แตกต่างกันเพราะมาจากการเลือกตั้งเหมือนกันรูปแบบนี้ คิดค้นขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการคอรัปชั่นและปัญหาประสิทธิภาพในการทำงาน โดยให้อำนาจแก่สมาชิก สภามีบทบาทหน้าที่ในการบริหารงาน การจัดการและการกำหนดนโยบายมากกว่ารูปแบบอื่น ๆ เมื่อเทียบ กับ 2 รูปแบบ ที่กล่าวมาข้างต้น
(4) รูปแบบคณะกรรมการ (The
Commission Form) รูปแบบนี้เกิดขึ้นราว ปี ค.ศ. 1900 ประชาชน
เลือกตั้งคณะกรรมการ จำนวนตั้งแต่ 3 คน จนถึง 7 คน แล้วแต่ขนาดของ มิวนิซิปอล โดยหนึ่งในนั้น จะ ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี (Mayor) คณะกรรมการจะทำหน้าที่ทั้ง ด้านนิติบัญญัติและบริหาร โดยกรรมการแต่ละคนจะแบ่งหน้าที่รับผิดชอบไปดูแลแผนกหรือฝ่ายต่างๆ อย่างไรก็ตาม รูปแบบนี้เสื่อมความนิยมลงนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 เมื่อถึงช่วงทศวรรษ ปี 1980 มีมิวนิซิ ปอลที่มีประชากร 2,500 คนขึ้นไปเพียง 3% เท่านั้น ที่ใช้รูปแบบนี้
(5) รูปแบบสภา – ผู้จัดการ (The Council – Manager Form) รูปแบบนี้ สภาซึ่งมาจากการเลือกตั้ง
ของประชาชนตั้งแต่ 5 คน ถึง 9 คน เป็นผู้คัดเลือกและแต่งตั้งผู้จัดการให้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดและ ความประสงค์ของสภาที่ได้วางไว้ ผู้จัดการมีอำนาจเต็มในการบริหารงานของเมือง ทั้งทรัพยากร การ แต่งตั้งและถอดถอนหัวหน้าแผนกและเจ้าหน้าที่ตำแหน่งสำคัญๆ นอกจากนี้ ผู้จัดการยังเป็นคนตระ เตรียมและนำเสนอร่างงบประมาณนโยบายและโครงการในการบริหารเมืองแก่สภา ตลอดจนรับผิดชอบ ในการบังคับใช้กฎหมายที่ออกโดยสภาภายในเขตมิวนิซิปอล ทั้งนี้ เป็นที่คาดหลายว่าผู้จัดการจะมี ความเป็นกลางทางการเมือง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non – Partisan) มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เป็นมืออาชีพ ในการบริหารงานไม่ต่างจากนักบริหารในวงธุรกิจ
3.3 ทาวน์ และทาวน์ชิพ (Town
and Township) ทาวน์ คือ บางแห่งเรียกว่า ทาวน์ชิพ
เป็นหน่วย
การปกครองท้องถิ่นส่วนย่อยในเขตเคาน์ตี้ ใช้ในมลรัฐ 6 แห่ง แถบนิวอิงแลนด์ New England โดย ทั่วไปมีประชากรต่ำกว่า 100,000 คน แม้ว่าจะมีบางแห่งที่มีประชากรสูงถึง 250,000 คน หน่วยการ ปกครองท้องถิ่นนี้มีรูปแบบการบริหารจัดการในรูปของการประชุมเมือง (Town Meeting) ซึ่งเป็นลักษณะ ของประชาธิปไตยโดยตรง (Direct Democracy) ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนเข้าร่วมประชุมประจำ ปีเพื่อเลือกทำความตกลงในเรื่องต่าง ๆ และเพื่อเลือกตั้งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่บางตำแหน่ง ส่วนใน ทาวน์ หรือทาวน์ชิพที่ไม่มีทาวน์มีทติ้ง ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนใน ท้องถิ่นแทน การบริหารงานของทาวน์ หรือทาวน์ชิพดำเนินการโดยคณะกรรมการทาวน์ชิพ (Township Board) มาจากการเลือกตั้งของประชาชน 3 – 7 คน โดยทั่วไปจะมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการจัด บริการสาธารณะพื้นที่ด้านต่างๆ ดูแลถนน สะพาน การดับเพลิง การกู้ภัย
3.4 สคูล ดิสทริคท์ (School
District)สคูล ดิสทริคท์ เป็นรูปแบบหนึ่งของหน่วยการปกครองท้อง
ถิ่นที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ (Special Purpose) เพื่อทำหน้าที่ในการจัดบริการด้านการศึกษาในระดับ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนที่เป็นของรัฐ โดยมีคณะกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ของประชาชนหรือมาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อม ด้วยการเสนอชื่อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อื่น บางแห่งเรียกชื่อว่า คณะกรรมการโรงเรียน (School Board หรือ School Committee ) บางแห่ง เรียกชื่อว่า คณะกรรมการจัดการทรัพย์สิน (Board of Trustees) ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านต่างๆ เพื่อ ใช้ในเขตโรงเรียน เช่น การกำหนดค่าเล่าเรียน หลักสูตร ตำรา จำนวนครู อัตราเงินเดือนของครู คณะ กรรมการโรงเรียนนี้จะแต่งตั้ง ผู้อำนวยการ (Superintendent) จากมืออาชีพที่เคยมีประสบการณ์ในการ บริหารงานโรงเรียนมาก่อนเพื่อทำหน้าที่เป็น หัวหน้าฝ่ายบริหาร (Chief Executive of District) ในการ บริหารงานประจำวันและนำนโยบายที่ได้รับจากคณะกรรมการโรงเรียนไปปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม โรงเรียน ในบางมลรัฐไม่มีคณะกรรมการโรงเรียนดังที่กล่าวมาแต่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของเคาน์ตี้หรือมิวนิซิ ปอล
เฉพาะ (Special Purpose) อีกหน่วยงานนอกเหนือจากสคูล ดิสทริคท์ ถูกจัดตั้งขึ้นมาให้ทำหน้าที่อย่าง
ใดอย่างหนึ่งหรือเพียงสองสามหน้าที่โดยเฉพาะเขตพิเศษบริหารงานโดย คณะกรรมการ(District
Board) ซึ่งมีที่มาจากหลายทาง เช่น มาจาการแต่งตั้งของเคาน์ตี้ มิวนิซิปอล
หรือมลรัฐ แต่โดยส่วน
ใหญ่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มีขนาดประมาณ 3-7 คน เขตพิเศษมีบทบาทหน้าที่เช่น
การ
ป้องกันอัคคีภัย การกำจัดสิ่งปฏิกูล การจัดการทรัพยากรน้ำ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น